จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบห้ามล้อ ระบบปรัอากาศ และระบบควบคุมมลพิษ

                                                                ระบบเบรก
     
       ระบบเบรกออกแบบมาเพื่อลดความเร็ว(ทำให้ช้า)และหยุดรถยนต์หรือทำให้จอดนิ่งบนทางลาดได้มันนับได้ว่าเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นที่สุดของรถยนต์ที่จะทำให้เกิดความแน่ใจในการขับขี่อย่างปลอดภัย ซึ่งรถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ไม่สามารถหยุดได้อย่างทันที เมื่อเครื่องยนต์ตัดกำลังงานออกจากระบบส่งกำลัง เนื่องจากมีแรงเฉื่อย แรงเฉื่อยอันนี้ต้องทำให้ลดลง เพื่อที่จะนำมาซึ่งให้รถหยุด เครื่องยนต์เปลี่ยนพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานการเคลื่อนไหว (เคลื่อนที่ )เพื่อไปขับเคลื่อนรถยนต์ ในทางตรงกันข้าม เบรกจะเปลี่ยนพลังงานการเคลื่อนที่นี้กลับไปเป็นพลังงานความร้อนเพื่อหยุดรถยนต์

แบบต่างๆของเบรก
       
    เบรกซึ่งใช้กับรถยนต์สามารถแบ่งแยกออกได้ตามจุดประสงค์ดังนี้
         - เบรกเพื่อใช้ควบคุมความเร็วรถยนต์และหยุดรถยนต์
         - เบรกมือใช้เมื่อต้องการจอดรถ
         - ตัวช่วยเบรกใช้รวมกับการเบรกโดยทั่วไป
   
    เบรกเพื่อใช้ควบคุมความเร็วและหยุดรถยนต์โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
         - ดรัมเบรก
         - ดิสก์เบรก

ดรัมเบรก     
  ส่วนประกอบ                                                                             
      เบรกดรัมประกอบด้วยชิ้นส่วนหลักดังต่อไปนี้
         - แผ่นหลังเบรก
         - กระบอกเบรกที่ล้อ
         - ส่วนประกอบฝักเบรกและผ้าเบรก
         - จานดรัมเบรก

ดิสก์เบรก   ดิสก์เบรกจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนพื้นฐาน คือ
      - จานเหล็กหล่อ (จานโรเตอร์)
      - ผ้าดิสก์เบรก
      - ก้ามปู
      - ลูกสูบ

ข้อดีและข้อเสียของดิสก์เบรกและดรัมเบรก
ข้อดีของดิสก์เบรก 
1.ใช่ชิ้นส่วนน้อยกว่าดรัมเบรค
2.ตอบสนองได้เร็วกว่าดรัมเบรค
3.การระบายความร้อนดีกว่าดรัม
4.รีดน้ำจากผ้าเบรคได้เร็วกว่า
5.ไม่ต้องตั้งระยะห่างของผ้าเบรคเพราะลูกยางเบรคจะตั้งระยะห่างให้อัติโนมัติ
ข้อเสียของดิสก์เบรก1.อะไหล่แพงก่า
2.ผ้าเบรคหมดเร็วกว่า
3.ประสิทธ์ภาพดิสก์เบรคน้อยกว่าดรัมเล็กน้อย

ข้อดีของดรัมเบรค1.ประสิทธิภาพในการเบรคดีกว่าดิสก์เบรก
2.อะไหล่ราคาถูกกว่า
3.เปลืองผ้าเบรคน้อยกว่า
4.อายุใช้งานยาวนานกว่า

ข้อเสียของดรัมเบรค1.ต้องตั้งระยะหางผ้าเบรค
2.ระบายความร้อนได้ยากกว่า
3.รีดนำได้ยากกว่า
4.การตอบสนองช้ากว่า

                                                    ระบบปรับอากาศในรถยนต์


ระบบปรับอากาศในรถยนต์ คือ ระบบปรับอากาศ คือ อุปกรณ์สำหรับรักษาอุณหภูมิและความชื้นของอากาศภายในห้องให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้น ความร้อนจะถูกดึงออกมาเพื่อให้อุณหภูมิ ลดลง และในทางกลับกัน เมื่ออุณหภูมิภายในห้องลดลง ความร้อนก็จะถูกจ่ายออกมาเพื่อ ให้อุณหภูมิสูงขึ้น ดังนั้น ความชื้นที่อยู่ในอากาศจะถูกเพิ่มหรือลดลงเพื่อควบคุมระดับความชื้นของ อากาศให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ดังนั้น เครื่องปรับอากาศจึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นประกอบไปด้วยเครื่องทำความเย็น เครื่องทำ ความร้อนตัวควบคุมความชื้นและเครื่องถ่ายเทอากาศ เครื่องปรับอากาศสำหรับรถยนต์โดยทั่วๆ ไป ประกอบด้วย เครื่องทำความร้อน หรือเครื่องทำความเย็นซึ่งมีตัวดูดความชื้นและเครื่องถ่ายเทอากาศ

ระบบปรับอากาศในรถยนต์จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้

1. คอมเพรสเซอร์ ( COMPRESSOR)
2. คอยล์ร้อน ( CONDENSER)
3. ถังพักน้ำยา-กรองและดูดความชื้น ( FILTER-DRYER RECEIVER)
4. วาล์วลดความดัน ( EXPANSION VALVE)
5. คอยล์เย็น ( EVAPORATOR)
6. น้ำยาแอร์ ( REFRIGERANT)
                                                    
 
                                                                ระบบควบคุมมลพิษ
    
       ระบบควบคุมมลพิษของรถยนต์ คือ ระบบท่อไอเสียซึ่งระบบท่อไอเสียของรถยนต์ จะช่วยไม่ให้ไอเสียเหล่านี้ย้อนกลับเข้าไปสู่เครื่องยนต์หรือบริเวณที่นั่งผู้โดยสาร นี่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เกิดพลังสูงสุดแก่เครื่องยนต์ โดยไม่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ให้ความมั่นใจว่าแก๊สพิษต่างๆจะไม่รั่วไหลไปสู่บริเวณห้องผู้โดยสาร  หน้าที่หลักอีกประการหนึ่งของระบบท่อไอเสียคือลดความอันตรายของแก๊สพิษที่ถูกปล่อยออกมาด้วยอุปกรณ์กรองไอเสีย หรือแคทาลิติกคอนเวอร์เตอร์

เรื่องของเพลาขับ สาระเกี่ยวกับเพลาขับ

                                                                
                                                                             บทที่ 4 ระบบช่วงล่าง และระบบบังคับเลี้ยว
ระบบบังคับเลี้ยวแบบเฟืองขับและเฟืองสะพาน ซึ่งเป็นที่นิยมในรถยนต์ปัจจุบัน โดยระบบนี้จะประกอบไปด้วย พวงมาลัย ,แกนพวงมาลัย ,กระปุกเกียร์พวงมาลัย ,เฟืองขับ ,เฟืองสะพาน ,คันส่ง
                                                

ระบบบังคับเลี้ยว
            อายุของอุปกรณ์ระบบนี้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 150,000 กม ก็จะเริ่มมีการชำรุด ตามอายุการใช้งาน แต่จะชำรุดที่ไหนก่อนหลัง บอกไม่ได้แน่อน เราจะต้องตรวจสอบก่อนด้วยการถอดออกมาเช็คกันเลย มองด้วยตาเปล่าจะไม่แน่อนครับ เรื่องระบบบัคับเลี้ยวนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนเพื่อความสะดวกแก่การทำความเข้าใจดังนี้



ชิ้นส่วนของระบบบังคับเลี้ยวที่ถอดออก ได้แก่
1.แขนประคองหรือกล้องยา (idler arm)
2.คันส่งกลาง (center tie rod)
3.คันส่งข้างซ้าย (outer tie rod, left)
4.คันส่งข้างขวา (outer tie rod, right)

 ระบบคันชัก คันส่ง ลูกหมาก Kingpin หรือบางครั้งเรียกว่า Ball Joint

                                   

ตัวลูกหมากหรือที่ฝรั่งเรียกว่า End tie rod คือจุดเริ่มต้นของปัญหา เมื่อลุกหมากเริ่มชำรุดคือ Seal ฉีกขาด จะทำให้ น้ำ ความชื้น ฝุ่นผง ทราย เข้าไปทำอันตราย ขัดสี เสียดสีมากมีผล กับการหมุนหรือ ให้ตัวของลูกหมาก เมื่อเกิดการสึกหรอมากๆจะหลวม ก็จะโยกได้ พวงมาลัยมีเสียงดัง เลี้ยวเสียงดังหรือวิ่งแล้วสั่น ความแม่นยำในการควบคุมรถไม่ดี เท่าที่ควรหรือหากเป็นมากๆ หมุนพวงมาลัยได้แต่ล้อไม่ยอมหมุนด้วย เป็นต้น อาการแบบนี้ GMC ขอแนะนำว่า อย่าคิดซ่อม ต้องเปลี่ยน
                                                    
                                                                                                กระปุกพวงมาลัย

         เรื่องนี้มีปัญหาเหมือนกันแต่ไม่บ่อยนัก เริ่มต้นปัญหามาจากการใช้งานเป็นหลัก ใช้งานมากก็สึกหรอมากเป็นธรรมดา ที่สำคัญคือควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ทุกระยะ 40,000 กมหรือปีละครั้ง หากจะให้ดี Flushing ไปเลยทุกระยะ 80,000 กม ดีแน น้ำมันที่ใช้สำหรับ Cherokee ก็เหมือนกับเกียร์อัตโนมัติคือ AFT DexronIII จำนวน 1.5 ลิตร แต่ปัญหาของมันหากมีการรั่วซึมต้องใส่ใจและรีบแก้ไขปัญหา จุดที่จะรั่วซึมมีหลายจุด ต้องวิเคราะห์และเช็คให้แน่นอนว่ารั่วมาจากจุดไหน อย่าให้น้ำมันแห้ง จะทำให้ ปัญหาบานปลายมากขึ้นไปอีก อย่าพลัดวันประกันพรุ่งสำหรับประเด็นนี้ เพราะมันจะตามมาด้วยพวงมาลัยหนักเพราะ Seal ภายในฉีกขาด /ราคา seal ไม่เท่ากันแต่ละจุด แต่ซ่อมได้ทั้งหมดและงานนี้จบแน่นอน หากไม่เปลี่ยนทิ้งไว้เรื่อยๆ จะทำให้เสื้อกระปุกเป็นรอย คราวนี้ยุ่งยากกว่าการเปลี่ยน seal แล้วจะกลายเป็น ต้องเปลี่ยนเสื้อ( Steering Box Housing) ด้วยคราวนี้เรื่องยาว เสียเงินเยอะด้วย
                                   ปั้มพวงมาลัยเพาเวอร์
                                                                                          http://www.civicesgroup.com/forum/topic18712

            ไม่ยุ่งยาก หากเปลี่ยนน้ำมันตรงเวลา หมั่นตรวจสอบการรั่วซึมและแก้ไขแต่เนิ่นๆ มีลุกปืน 1 ชุด seal 1 ชุดที่หากพบปัญหาแต่แรกจะไม่เสียหายมาก ราคาไม่แพง ส่วน Impeller ,vane,Housing ไม่ชำรุดไปได้อีกนาน ที่อยากขอเน้นก็ Flow Control Valveต้องสะอาด หากไม่สะอาดจะทำให้พวงมาลัยหนักขึ้น เนื่องจากน้ำมันจะ Bypass ไปไม่ผ่าน Valve ทำให้แรงดันไม่เพียงพอสำหรับขับ Valve ในกระปุกพวงมาลัย / ราคาค่าแรงที่ GMCเกี่ยวกับการตรวจสอบและเปลี่ยนลูกปืน, seal ระบบนี้ไม่น่าเกิน 3 ชม


ระบบเบรคและคลัช
ระบบเบรคของ Cherokee เป็นเบรคที่ดีพอใช้ แต่ไม่ดีมากเหมือนรถเก๋งนะ หน้า disc หลัง Drum เป็นระบบที่มี ABS มาจากโรงงานหากอายุการใช้งานมานานกว่า 6-7 ปีขึ้นไปหรือ 150,000 กม มีสิ่งที่อยากแนะนำให้ตรวจสอบคือ
            

   

1 การรั่วซึมของน้ำมันเบรค ตามรอยต่อ ข้อต่อทุกจุด ใน Brake line จะต้องไม่มีและแห้งสนิททุกจุดจริงๆ เท่านั้น ที่สำคัญอีกประการคือการตรวจสอบความชื้นของน้ำมันเบรคในระบบด้วยเครื่องมือพิเศษเท่านั้นเราควรใส่ใจ เพราะความชื้นในระบบจะเป็นตัวที่ทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรคต่ำลง และมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการหยุดรถของท่าน หากพบความชื้นมากหรืออายุน้ำมันเบรคมากกว่า 40,000 กมหรือ 1 ปี เราควรเปลี่ยนใหม่พร้อมการใล่ลมเบรคใหม่ทันที และแน่นอน ไม่ควรเติม แทนการเปลี่ยนใหม่ อย่าเสียดายน้ำมันเบรคเก่า ปริมาณที่เราใช้ก็น้อยมาก เมื่อครบกำหนดเปลี่ยนใหม่ดีกว่าประสิทธิภาพต่างกันเยอะนะ Jeep เราใช้เกรด DOT 3 นะ



       2 ผ้าเบรค ( Brake Pad) ควรเปลี่ยนตามอายุและให้ความสำคัญหมั่นดูแลอายุผ้าเบรคจะอยู่ประมาณ 25,000-35,000 กม หรือประมาณ 6 เดือนขึ้นกับการใช้งานแต่ละคนและสามารถใช้สินค้า Aftermarket ได้มีหลายยี่ห้อให้เลือก รายการนี้สามารถเลือกได้ตามความชอบใจ สินค้าที่มีจำหน่ายในบ้านเราหลายยี่ห้อสามารถใช้ได้ คุณสมบัติและมาตราฐานไม่ต่างกันมาก

      3 ลูกสูบเบรค ( Brake Caliper ) จะต้องไม่รั่วซึมแห้งสนิท ไม่มีการฉีกขาด หรือรั่วซึม ของ Seal เด็ดขาด หากพบเห็นต้องเปลี่ยนอย่างเดียวงานนี้ห้ามซ่อม และที่สำคัญอีกรายการที่ลืมไม่ได้คือ ร่องรอยการสึกหรอของขายึด Caliper หากมีมากต้องซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ เพราะมันจะทำให้เกิดเสียงดังขณะวิ่งและเบรคกินซ้ายหรือขวาได้

      4 กระบอกเบรค ( Master Cylinder) หากยังไม่มีอาการเบรคแข็ง เบรคไม่อยู่ก็ข้ามไปก่อน

      5 หม้อลมเบรค ปกติหากไม่รั่งซึมก็ใช้งานได้นาน แต่หากมีการรั่วซึมจะสังเกตุง่ายๆคือเบรคจะเริ่มแข็งขึ้น คือไม่มีPower ช่วย เราต้องออกแรงมากในการเบรค อาการนี้คนที่ใช้รถทุกวันจะทราบ หากมีอาการอย่างที่ว่าต้องเปลี่ยน ซ่อมไม่ได้



       6 ABS Module และ ระบบ ABS หากไม่สัญญาน ABS Show ก็สบายใจได้ แต่หากมี ABS show เมื่อไหร่ เป็นเรื่องเสียเงินทันทีแต่เบื้องต้นเรายังไม่สามารถตอบได้ว่า อะไรคือสาเหตุและเราต้องหาสาเหตุให้ได้ก่อนเสมอ เนื่องจากปัญหาจะไม่ซ้ำกัน และมีการเตือนคือ ABS show เหมือนกัน เราแก้ไขปัญหาจากสาเหตุ ยกตัวอย่างที่พบบ่อยเช่น Air gap ของ sensor ปรับตั้งมาไม่ถูกต้อง สกปรก มีเศษโลหะ หิน กระแทกทำให้ sensor เสียหาย สายรับสัญญานไม่แน่น หลวมหลุด ขาด หรือตัว sensor เสื่อมทำให้ความต้านทานในสายผิดปกติ เป็นต้น 

ระบบรองรับช่วงล่างและระบบกันสะเทือน
ระบบรองรับช่วงล่างของ Cherokee เป็นระบบ Coil spring หน้า และ Leaf spring หลัง ธรรมดา ไม่มีอะไรสลับสับซ้อน แต่เป็นจุดที่ละเลยไม่ได้ เพราะเกี่ยวข้องกับความนุ่มนวลและการทรงตัวของรถอย่างมาก คานหน้าและหลังรองรับด้วย Bushing จำนวนมาก

6.1 Bushing 
ในระบบรองรับคานหน้า หลัง ประกอบชิ้นส่วนที่ยาง จำนวนมาประกอบด้วย 
1 Bushing upper arm L/R จำนวน 4 ตัว
2 Bushing lower arm L/R จำนวน 4 ตัว
3 เหล็กกันโคลงหน้า ประกอบด้วย Bush จำนวน 2 ตัว และยางรองเหล้กกันโคลง 
4 Stabilizer หรือเหล็กกันโคลง 2 ตัว
5 ยางรอง Coil spring ( Coil packer) 2 แผ่น 
6 Bushing Leaf spring 4 ตัว
7 Bush เหล็กกันโคลงหลัง จำนวน 4 ตัว
          ท่านทราบหรือไม่ว่า ยางพวกนี้ส่วนมากหมดอายุตั้งแต่ 5 ปี หรือ 150,000 กมที่ผ่านมาแล้ว ยางเหมือนยางทั่วไป ที่มีอายุการใช้งานถึงแม้นเราดูสภาพภายนอกจะยังไม่ฉีกขาด แตกชำรุดให้เห็น แต่งาน Recondition ของเราจำเป็นต้องเปลี่ยน และยังเน้นไปที่ของแท้คือ Mopar ดีที่สุด ถึงแม้นว่าบ้านเราจะสามารถผลิตยางได้มาจริงแต่เรายังไม่จำนวนในการสั่งมากๆ การควบคุมคุณภาพละราคาจึงทำไม่ได้ ต้องยอมรับว่าเรายังสั่งของ Mopar มาใช้นะเพราะอายุการใช้งานดีกว่าและนิ่มนวลกว่าจริงๆ รายการนี้หลายท่านเจ้าของรถ คิดไม่ถึง และไม่กล้าตัดสินใจเปลี่ยน แนะนำว่าคุ้มค่า หากมีเวลา เราตรวจสอบเสียก่อนเลือกจุดที่เป็นปัญหาหากท่านตัดสินใจเปลี่ยนทั้งหมดเป็นของแท้ Mopar นะ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาทรวมค่าแรงแล้ว
                                                    
6.2 Coil spring                                
โดยปกติ Coil spring ไม่มีปัญหาการล้า ( fatigue) อาจเป็นเรื่องของการออกแบบที่ดีและเนื้อวัสดุ กรรมวิธีผลิตที่ดี ทำให้ปัญหาแทบไม่มีเลย ยกเว้นกรณีที่ใช้งานผิดประเภท
6.3 Leaf Spring
ปัญหาคือตัวนี้ แหนบของ Cherokee จะล้าเมื่อผ่านการใช้งานมากว่า 150,000 กมหรือประมาณ 5-7 ปี ขึ้นไป ทำให้ทรงของมันผิดปกติไป ปกติ Cherokee จะต้องมีความสูงก้านหลังสูงกว่าหน้าประมาณ 1-1.5 cm แต่เราพบว่าปัจจุปันมี Cherokee ที่แหนบหลังทรุดกว่าครึ่งที่ควรได้รับการแก้ไขนะที่ GMC เรามีวิธีการแก้ไขซ่อมแซมให้เลือกได้ตามกำลังทรัพย์ ว่ากันถูกสุดๆก็
          1 เสริม specer เข้าไปเลย แต่ต้องไม่ทรุดมากนักนะประมาณ 2-2.5 cm พอได้ หากมากไปจะมีกระทบเหล็กกันโคลงจะเบียดกับยางหลังด้านใน และไม่แนะนำให้เจียรเหล็กกันโคลงหลบ แต่การทำวิธีนี้การทรงตัวไม่ดีท่าที่ควรเพราะแหนบล้า ราคาประมาณ 1,000 บาท 
2 เสริม Add-a-left ทำให้กระด้างขึ้นนิดแต่ ช่วยแก้ไขเรื่องการล้าได้ ปรับค่า K ให้ใหม่ได้ครับและปรับเรื่องความสูงได้ดีและไม่มีกระทบกับเหล็กกันโคลง ราคาปานกลางประมาณ 7,000-8,000 บาทรวมเปลี่ยน bush หูแหนบใหม่ด้วยพร้อมค่าแรง

           3 เปลี่ยนแหนบใหม่ไปเลย มีทั้งของ Mopar และแหนบ JAMP หรือเปลี่ยนชุด kit ช่วงล่างใหม่เลยก็ทำได้ มีหลาย Brand เช่น Powerdown, West coast ,Procomp เป็นต้น วิธีพวกนี้ดีที่สุดแต่ราคาสูงหน่อย และจบที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนทั้งชุดหรือการเปลี่ยนเฉพาะแหนบใหม่ราคาว่ากันตั้งแต่ 12,000-40,000 บาท

          6.4 Shock Absorber
หากทดสอบด้วยการลองขับอาจให้ผลที่ไม่แน่นอน แนะนำว่าควรใช้เครื่องมือพิเศษช่วยทดสอบ คือการใช้เครื่องมือตรวจสอบ Shock ab.ได้และเราสามารถออกรายงานผลการทดสอบมาให้แล้วเราจึงเอามาวิเคราะห์และหาทางแก้ไขงานเปลี่ยน Shock ab. ทำง่ายและมีสินค้า หลากหลายยี่ห้อ แต่เราควรได้รับทราบข้อแนะนำก่อนตัดสินใจดังนี้

                                เพลาล้อ สาระเกี่ยวกับเพลาล้อ

เพลาล้อหน้าคืออะไร อยู่ตรงไหนของรถยนต์ มีความสำคัญอย่างไร และประกอบด้วยชิ้นส่วนใดบ้าง
ส่วนสำคัญ
             1.เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการส่งกำลังขับเคลื่อนของรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า ต่อจากห้อเกียร์
ของเครื่องยนต์ไปยังดุมล้อรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าทุกคัน มีหน้าที่หมุนล้อให้เคลื่อนไหว
ทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนไปข้างหน้า หรือถอยหลัง
             2.นอกจากการหมุนตัว ยังเป็นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้ ได้แก่ หัวเพลาขับ เมื่อรถเลี้ยวซ้าย
หรือขวา หรือเมื่อรถลอยตัวหรือกดลงเมื่อขึ้นสะพานหรือลงสะพาน
หน้าที่ประกอบด้วย
             3.เพลาขับหน้าประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญดังนี้
 1)ก้านเพลา มี 2 แบบ แบบตัน และแบบกลวงเป็นท่อแป๊ป
 2)C.V. JOINT หัวเพลาขับซึ่งอยู่ติดกับดุมล้อ ส่วนใหญ่จะใช้ลูกปืน 6 ลูก
 3)SPIDER JOINT เป็นหัวเพลาขับด้านที่ติดกับห้องเกียร์ มีหลายแบบ ได้แก่  แบบที่ใช้ลูกปืน 
   6 ลูก หรือลูกปืน
 4)จาระบี ใส่เพื่อการหล่อลื่นของหัวเพลาทั้งสองข้างในแต่ะเพลาขับ
 5)ยางหุ้มเพลา เป็นยางที่ปกปิดมิให้จาระบีกระเด็นหลุดจากหัวเพลาแต่ละข้างในขณะหมุนตัว
 6)เหล็กรัดยางหุ้มเพลา เป็นแถบเหล็กที่รัดยางหุ้นเพลาให้ติดกับหัวเพลา
 7)ชิ้นส่วนลดการสั่นสะเทือนยางซับสะเทือนมีในบางเพลาขับติดไว้เพื่อลดการสั่นสะเทือนของเพลาขับขณะหมุนตัว
8)  เพลาส่งกำลัง เพลาชนิดนี้มีหน้าที่ส่งถ่ายกำลังจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยผ่านชิ้นส่วนอื่นต่างๆดังนี้ เช่น ส่งถ่ายกำลังมาจากเฟื่อง มาจากพลูเพย์ มาจากพลูเพย์ มาจากคลัตช์ ซึ่งชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้ได้ต้นกำลังมาจากมอเตอร์ หรือเครื่องยนต์
9) เพลารองรับภาระ เป็นเพลาที่ทำหน้าที่รองรับภาระจากชิ้นส่วนอื่นเช่นกัน ซึ่งเพลาอาจหมุนหรือไม่หมุนก็ได้ แต่ที่สำคัญเพลารองรับภาระทำหน้าที่หลักคือรับแรงกดอัดจากชิ้นส่วนอื่นตลอดเวลาการใช้งาน เช่น  เพลาของรอก  และคว้านต่างๆ
1.ชนิดของเพลา
เพลาเป็นชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่หมุนได้ เพลาจะรับโมเมนต์บิดที่ถ่ายภาระมาจากกล้องเฟื่องล้อสายพาน  หรือคัตช์ เพลาจึงสามารถรับภาระบิดและภาระดัด จึงมีการแบ่งเพลาออกเป็น 2อย่าง คื่อ  เพลาส่งกำลัง และเพลารองรับภาระ  ดังรายละเอียด
เพลาส่งกำลัง (TRANSMISSION  SHAFTS) เพลาชนิดนี้ใช้เฉพาะการบิดหรืออาจรับทั้งการบิดและการดัดผสมกันก็ได้ การส่งกำลังจะถ่ายทอดผ่านเพลาโดยอาศัยแผ่นประกบต่อเพลา(COULPING)ผ่านเฟื่อง  ผ่านพูลเดย์  ผ่านสายพาน จานโซ่ หรือโซ่
  เพลารองรับภาระ เป็นเพลาชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเช่นกัน  ขณะใช้งานเพลาชนิดนี้อาจหมุนหรือไม่ก็ได้ แต่ที่สำคัญเพลาชนิดนี้ไม่ได้ส่งกำลังจะทำหน้าที่เป็นตัวรองรับชิ้นส่วนอื่นให้หมุน เช่น เพลาลูกกรอกสายพาน  เพลาลูกกรอกส่ายพาน  เพลาลูกล้อสลิงต่างๆซึ่งเป็นเพลาที่รับภาระน้ำหนักของอุปกรณ์อื่นที่กดทับทำให้สภาพการเสียหายของเพลาเกิดการดัดงอเป็นส่วนใหญ่  เช่น เพลา ล้อรถไฟ 
 เพลารองรับภาระ เป็นเพลาชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเช่นกัน  ขณะใช้งานเพลาชนิดนี้อาจหมุนหรือไม่ก็ได้ แต่ที่สำคัญเพลาชนิดนี้ไม่ได้ส่งกำลังจะทำหน้าที่เป็นตัวรองรับชิ้นส่วนอื่นให้หมุน เช่น เพลาลูกกรอกสายพาน  เพลาลูกกรอกส่ายพาน  เพลาลูกล้อสลิงต่างๆซึ่งเป็นเพลาที่รับภาระน้ำหนักของอุปกรณ์อื่นที่กดทับทำให้สภาพการเสียหายของเพลาเกิดการดัดงอเป็นส่วนใหญ่  เช่น เพลา ล้อรถไฟ 
 เพลากลวง เป็นเพลาที่ผู้ออกแบบได้ออกแบบมาเพื่อต้องการลดน้ำหนัก ซึ่งจะมีน้ำหนักเบาว่าเพลาตันแระมาณ  25% ใช้เพลาเครื่องกัด เพลาเครื่องเจาะ ลักษณะของเพลาจะมีผิวเรียบ และใช้ทำเพลาขับเฟื่องท้ายรถยนต์   แต่ลักษณะเพลาขับเฟื่องท้ายรถยนต์ผิวของเพลาจะไม่เรียบ
เพลาข้อเหวี่ยง  เป็นเพลาที่ทำหน้าที่เปลี่ยนการหมุนแบบเส้นตรงเป็นลักษณะตรงกันข้าม ส่วนใหญ่เพลาข้อเหวี่ยงจะใช้เป็นชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ 
เพลาสปาย(SPLINE)เป็นเพลาที่มีร่องคล้ายกับเฟื่องอยู่รอบตัวเพลาความยาวของร่องฟันเพื่องจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของเพลานั้น เพลาชนิดนั้นส่วนใหญ่จะใช้กับเฟื่องหัวเครื่องกลึง
 เพลาเรียว  เป็นเพลาชิ้นส่วนเครื่องจักรกลอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งตัวเพลาจะมีความเรียวตามมาตรฐานเพื่อมใช้ในการจับการยึดเข้าด้วยกันระหว่างเรียวนอกและเรียวใน  เช่น เพลาเรียกหัวเครื่องกลึง เครื่องกัด และเครื่องเจาะ และศูนย์หัว-ท้ายของเครื่องกลึง

   


         การดูแล การบำรุงรักษาเพลาขับหน้า และอายุการใช้งาน
 1.เจ้าของรถควรหมั่นก้มดูและตรวจดูสถาพยางหุ้มเพลาขับว่ามีร้อยร้าวหรือรอยแตกหรือไม่หากมีให้เปลี่ยนทันที ปกติยางหุ้มเพลาจะมีอายุใช้งาน 3-4 ปีสำหรับยางหุ้มเพลาของแท้จากศูนย์บริการ ส่วนยาหุ้มเพลาอื่นจะมีอายุประมาณ 1-2 ปี ในสภาพการใช้งานปกติ
 2.ควรเปลี่ยนจาระบี เมื่อจาระบีหมดอายุ ซึ่งประมาณ 2 ปี หรือ 40,000 กม.ซึ่งจาระบีจะเหือดแห้งไปได้ด้วยตัวเอง
 3.อายุใช้งานของเพลาขับหากมีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องจะใช้ได้เกิน 100,000 กม.
                                                     
อาการที่แสดงว่าเพลาชำรุดและสาเหตุ
        (1)  อาการ
 1.มีเสียงเหมือนโลหะขบกันดังแก็กๆ ที่ล้อหน้า จากหัวเพลาด้านที่ติดกับล้อ มีข้อสังเกตได้คือ หากเลี้ยวขวา
แล้วมีเสียงดัง จะเป็นเพลาซ้ายที่ชำรุด และหากเลี้ยวซ้ายแล้วมีเสียงดัง จะเป็นเพลาขวาที่ชำรุด
 2.มีอาการสั่นสะท้านขณะใช้ความเร็วหนึ่งสะท้านถึงคอนโซลเกียร์ ถึงแม้จะไม่เลี้ยวก็ตาม แม้จะถ่วงล้อ
แบบจี้แล้วก็ไม่หาย แสดงว่าอาการของเพลา SPIDER (เพลาหัวในที่ติดกับเกียร์) ชำรุด
        (2)  สาเหตุ
 1.ส่วนใหญ่เกิดจากยางหุ้มเพลาขาด ทำให้หัวเพลาสะบัดจาระบีออกหมด มีฝุ่นและทรายเข้าในหัวเพลา
และเสียดสีกับเหล็ก หากยางหุ้มเพลาขาด และไม่เปลี่ยนโดยทันที หัวเพลาจะมีปัญหาติดตามมาได้
            2.จาระบีหมดสภาพโดยเจ้าของรถไม่รู้ ถึงแม้ยางจะไม่ขาด แต่จาระบีจะไม่มีสภาพให้การหล่อลื่น
อีกต่อไป จาระบีที่ใช้ต้องเป็นจาระบีพิเศษสำหรับหัวเพลาขับเท่านั้น จาระบีทั่วไปจะไม่สามารถใช้ได้
เพราะจะเสื่อมสภาพความหล่อลื่น ที่ความร้อนสูง
            3.C.V. JOINT หรือ หัว SPIDER จะมีอายุการใช้งานเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่แหล่งผลิตและเทคนิคที่ผลิต หากเป็นของเดิมมาจากโรงงานรถยนต์ จะมีอายุการใช้งานนานแต่หากมีการเปลี่ยนด้วยของ AFTER MARKET แล้วระยะเวลาที่ใช้ได้จะสั้นลงอย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับการดูแลสภาพยางหุ้มเพลาและการเปลี่ยนจาระบีเป็นหลัก
          4.เกิดจากอุบัติเหตุ เมื่อมีการซ่อมแซมตัวถัง แล้วจุดยึดหรือโครงสร้างเปลี่ยนไป
          5.ยางแท่นเครื่องยางแท่นเกียร์ขาดหรือทรุดจะทำให้เครื่องสั่น, เขย่า เป็นสาเหตุให้หัวเพลามีการเคลื่อนไหวของหัวเพลา SPIDER ทำให้ชำรุดได้

            ทางเลือกในการซ่อมแซมแก้ไข
 1.เข้าศูนย์บริการ เปลี่ยนเพลาขับใหม่ทั้งชุด หรือเปลี่ยนชุดซ่อมแซม ซึ่งจะมีเฉพาะยางหุ้มเพลาและจาระบี
 2.ถอดและเปลี่ยนเฉพาะหัวเพลาใหม่ซึ่งเป็นของ AFTER MARKET
 3.ถอดและซ่อมแซมหัวเพลาเฉพาะจุดที่ชำรุดในหัวเพลา
 4.ถอดและเปลี่ยนเป็นเพลาขับทั้งชุด แต่เป็นชุดที่ได้รับการซ่อมแซมเพลาขับทั้งเส้นในส่วนสึกหรอทั้งหมด
และเปลี่ยนชิ้นส่วนที่มีอายุการใช้งาน เช่น ยางหุ้มเพลา จาระบี เป็นของใหม่
 5.ใช้ของเก่าจากเชียงกง ซึ่งอาจนำเข้าจากต่างประเทศ หรือเป็นเพลาขับในประเทศที่ชำรุด ซึ่งได้รับการซ่อมแซมแล้ว
          ชิ้นส่วนที่สำคัญของเพลาขับ วิธีการดูคุณภาพของส่วนประกอบ
 1.ก้านเพลา ไม่คดหรืองอ
 2.หัวเพลา CV. JOINT มีแบบที่มีลูกบอลหรือลูกปืน 6 ลูก ต้องดูแหล่งผลิตและระยะเวลารับประกัน
 3.หัวเพลา SPIDER มีรอยชำรุด มีตามดภายนอกหัวเพลาหรือไม่
 4.ยางหัวเพลาอย่างดีจะต้องหนา เป็นยาง NBR ซึ่งจะมีหลายวิธีการผลิต เช่น ผลิตด้วยการอัด(COMPRESSION) หรือ แบบฉีด (INJECTION) มาตรฐานของยางหุ้มเพลา สำหรับรถที่ออกจากโรงงานรถยนต์จะเป็นแบบฉีดและหนา ส่วนยางที่บาง อาจจะเป็นแบบอัดหรือฉีดก็ได้จะราคาถูกเพราะลดต้นทุนการผลิต ทำให้ยางเปราะและฉีกขาดง่าย มีอายุการใช้งานสั้นกว่า
5.เหล็กรัดเพลา ต้องมีลักษณะไม่คม ไม่ทำให้ยางหุ้มเพลาขาด
 6.จาระบี ต้องเป็นจาระบีพิเศษ เป็นสารผสมลิเที่ยมและโมลิดินั่ม ที่ให้ความหล่อลื่นสูงทนต่อความร้อนอย่างสูงในขณะที่ล้อหมุน

        เทคนิคการซ่อมแซม CV JOINT
CV JOINT ที่ชำรุด คือ CV JOINT ที่มีการสึกกร่อนหรือสึกหรอเป็นรอยในรางลูกปืน เช่นมีหลุม
มีรอย ที่เกิดจากเศษเหล็กที่หลุดจากรางลูกปืนหรือมีเม็ดทราย ฝุ่น เสียดสีในรางลูกปืนจนสึกหรอ
ดังนั้นจึงมีเทคนิคการซ่อมแซม 2 วิธี

1.เชื่อมพอกเนื้อเหล็กหรือโลหะไปที่จุดที่สึกหรอ และเจียแต่งให้เข้ารูป
ข้อดี+ข้อเสีย
- ร้านที่พอมีฝีมือสามารถทำได้
- ใช้วัสดุภายใน CV. JOINT ของเดิมทุกอย่าง ทำให้ต้นทุนการทำต่ำ
- ไม่คงทน เพราะเนื้อเหล็กที่พอกเข้าไปคนละเนื้อและความแข็งแกร่งของโลหะแต่ละชนิดไม่เท่ากัน
- การใช้โลหะที่มีความร้อนสูงในการเชื่อมทำให้ค่าความแกร่งหรือผิวชุดแข็ง (hardness)
  ของโลหะในรางลูกปืนเสียหายหรือหมดสภาพไป กลายเป็นจุดอ่อนของหัวเพลาต่อไป
- การเจียแต่งไม่เข้ารูป นำมาใช้งานและจะติดขัด หรือดึงรถไปข้างใดข้างหนึ่ง

2.ขยายรางลูกปืน
ข้อดี+ข้อเสีย
- จะซ่อมได้เฉพาะ CV. JOINT ที่มีความสึกหรอน้อยไม่เกินสเปคที่กำหนด
- ทำขยายรางลูกปืนโดยคล้ายกับขยายคว้านกระบอกสูบโดยขยายได้ตามขนาดลูกปืนที่กำหนด
- เปลี่ยนลูกปืนภายใน CV. JOINT ใหม่หมด และชิ้นส่วนสำคัญนั้นๆ แทนชิ้นส่วนที่ชำรุด
- ขนาดของลูกปืนใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้นแต่จะไม่ใหญ่จนเกินความหนาของการชุบแข็งของ
  หัวเพลาเดิม ทำให้หัวเพลาขับคงมีคุณสมบัติเดิมเท่าของใหม่
-  เป็นวิธีที่นิยมและเป็นมาตรฐานทั่วไปในต่างประเทศ 



                                                                                            โช้ค
                                         

                                              http://www.benzunity.com/forum/index.php?topic=554.0
โช้คอัพ (SHOCK ABSORBERS) มีหน้าที่โดยพื้นฐานคือ เป็นตัวควบคุมการยุบตัว และการยืดตัวของสปริง (COIL SPRING) แหนบ (LEAF SPRING) และสปริงแบบแท่ง (TORTION BAR) ถ้าไม่มีโช้คอัพรถจะเต้นไม่หยุด โช้คอัพ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งในระบบรองรับของรถยนต์ เพื่อลดแรงกระแทก ที่เกิดจากพื้นผิวของถนนที่ไม่เรียบ ซึ่งโดยมีหน้าที่พื้นฐานคือ เป็นอุปกรณ์ที่คอยควบคุม การทำงานของสปริงหรือแหนบ โดยเมื่อรถยนต์ได้รับแรงกระแทก เนื่องจากสภาพถนน โช้คอัพจะเป็นตัวหน่วง การเคลื่อนที่ขึ้นและลงของตัวรถยนต์ เพื่อให้รถยนต์ได้รับแรงสะเทือนน้อยที่สุด และควบคุมล้อรถ ให้สัมผัสกับพื้นผิวของถนนขณะรถวิ่ง โช้คอัพของรถยนต์โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุก สปริง หรือ แหนบ จะทำหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุกโช้คอัพ            (SHOCK ABSORBERS) 
คือ อุปกรณ์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง อยู่ในระบบรองรับของรถยนต์ เพื่อลดการกระแทก  อันเกิดจากพื้นผิวของถนนที่ไม่เรียบ หน้าที่ต่างกัน แต่ทำงานร่วมกันระหว่างโช้คอัพ กับ สปริง สปริง เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งในระบบรองรับของรถยนต์ เมื่อมีแรงกดลงมา สปริงจะทำการยุบตัวลง และค่อยคืนสภาพเดิม กล่าวคือ เป็นอุปกรณ์รองรับน้ำหนัก และความยืดหยุ่นของรถยนต์ โช้คอัพ เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบช่วงล่าง คือ เป็นตัวรองรับแรงกระแทก และควบคุมการยึดเกาะถนนของตัวรถยนต์ โช้คอัพ และสปริงต้องทำงานร่วมกัน โดยเมื่อมีแรงกดมายังช่วงล่างสปริงจะทำการยุบตัว และค่อย ๆ ดีดตัวขึ้น ตรงส่วนนี้เอง โช้คอัพจะเข้ามามีส่วนร่วมในการลดแรงดีดตัวของสปริง ทำให้แรงดีดตัวของสปริงมีความหนืดขึ้น ทำให้มีความรู้สึกนุ่มขึ้นของช่วงล่าง ถ้าโช้คอัพสามารถลดแรงดีดตัวของสปริงได้มากเท่าใด ก็แสดงถึง ประสิทธิภาพของโช้คอัพได้มากเท่านั้น
           ต้องใช้เครื่อง MAC แน่เลยตัวหนังสือเลยห่างๆ ย้ายจุดหูยึดโช๊ค (พูดเฉพาะรถเทินเพลานะ) แต่ละสำนักจะมีสูตรต่างกัน ขึ้นอยู่กับเรา ถ้าต้องการดัดแปลงรถน้อยที่สุดก็ใช้ชุดยึดโช๊คเดิมยกขึ้นไปเหนือเพลาก็จบ แต่เขาว่ากันว่าการย้ายจุดยึดโช๊คด้านบนให้ใกล้ตรงกลางรถ (ต้องสร้างจุดยึดโช๊คใหม่ถ้าทำไม่ดีจะอันตรายพอสมควร) จะทำให้รถให้ตัวได้มากและสามารถใส่โช๊คที่ยาวขึ้นทำให้มีระยะยืดยุบได้มากขึ้นด้วย แต่แหนบท่านต้องโค้งและโตงเตงก็มีส่วนครับ (ขออนุญาติรถท่านแหลมเป็บแบบหน่อยนะครับ ย้ายจุดยึดโช๊คบนและล่าง) 

                 โช๊คอัพและ สปริง อยู่ในส่วนของระบบกันสะเทือนของรถบังคับวิทยุ การใส่น้ำมันที่ โช๊คอัพ ทำให้รถมีความคงที่มากขึ้นเมื่อวิ่งอยู่ในถนนที่ไม่เรียบ ถ้าไม่มีน้ำมันแล้ว โช๊คอัพ จะยืดและหดตัวเร็วเกินไป และจะไม่สามารถซึมซับแรงกระแทกได้เลย เมื่อใดก็ตามที่เรารูสึกว่า โช๊คอัพทำงานได้ไม่ดีพอเราสามารถตรวจสอบระดับน้ำมัน และ เติมน้ำมันเพิ่มได้
               น้ำมันใส่โช๊คอัพ มีหลายน้ำหนัก เช่น 40 70 หรือ 100 เพราะฉะนั้นเราจะต้องถามให้แน่ใจว่ารถของเรานั้น เหมาะกับน้ำหนักของน้ำมันแบบไหน เพราะน้ำหนักของน้ำมนที่ไม่เท่ากันจะทำให้อัตราการบีบและอัดตัวของระบบกันสะเทือนต่างกันไป



หน้าที่โดยพื้นฐานของโช้คอัพ
          เมื่อขณะที่รถยนต์ได้รับแรงกระแทกจากการวิ่งบนถนนที่ไม่เรียบ โช้คอัพจะมีหน้าที่เป็นตัวช่วยหน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงของตัวรถยนต์ และยังช่วยควบคุมการเต้นของล้อให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพื่อให้ล้อของรถยนต์ ได้สัมผัสกับพื้นผิวของถนน ในขณะที่รถแล่นอยู่ตลอดเวลา ให้เกิดความสบายของผู้ขับขี่และให้เกิดการทรงตัวที่ดีที่สุด
หลักการทำงานทั่วไปของโช้คอัพ
          โช้คอัพ ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นโช้คอัพที่อาศัยหลักการทำงานด้วยระบบน้ำมันไฮดรอลิค (น้ำมันโช้คอัพ) โดยบรรจุไว้ในภาชนะทรงกระบอก และอาศัยแรงดันของลูกสูบ อัดให้น้ำมันไฮดรอลิคไหลผ่านรูเล็ก ๆ ที่อยู่ในลูกสูบ โดยรูเล็ก ๆ เหล่านี้จะมีหน้าที่ควบคุม และจำกัดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค เมื่อรถได้รับแรงกระเทือนบนทางที่ขรุขระ สปริงหรือแหนบของรถจะยืด และหดตัวตามจังหวะการสั่นสะเทือนของล้อรถยนต์ ดังนั้นน้ำมันไฮดรอลิคที่ไหลผ่านรูเล็ก ๆ ภายในลูกสูบจึงมีหน้าที่หน่วงเหนียว การดีดตัวอย่างรวดเร็วของสปริง หรือแหนบของรถยนต์โช้คอัพแบ่งออกตามสื่อการทำงานได้เป็น 2 ชนิดคือโช้คอัพรถยนต์ที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้แบ่งตามรูปแบบการทำงานได้ 2 ชนิด คือ โช้คอัพน้ำมัน โช้คอัพชนิดนี้จะทำงานโดยใช้น้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวทำงานเพียงอย่างเดียว ดังนั้นโช้คอัพชนิดนี้ในขณะทำงานจะเกิดฟองอากาศ จึงทำให้ขาดช่วงการทำงานโช้คอัพแบบแก็ส โช้คอัพชนิดนี้เป็นโช้คอัพน้ำมันไฮดรอลิค แล้วบรรจุแก๊สไนโตรเจนเข้าไปภายในกระบอกโช้คอัพ เพื่อกำจัดฟองอากาศของน้ำมัน ที่เกิดขึ้นภายในโช้คอัพ จึงทำให้โช้คอัพชนิดนี้ทำงานได้อย่างราบเรียบ สม่ำเสมอ




วิธีการตรวจสอบโช้คอัพ
           วิธีการตรวจสอบสภาพของโช้คอัพนั้น ผู้ใช้รถสามารถตรวจสอบได้ดังนี้
ให้สังเกตุที่หน้ายางของรถยนต์ ถ้าโช้คอัพเสียหน้ายางจะสึกเป็นช่วง ๆ โดยรอบ ให้ใช้มือกดบริเวณด้านบนของบังโคลนทั้งหน้าและหลังหลาย ๆ ครั้ง แล้วปล่อยมือบริเวณที่กด ก็จะมีอาการยืดและหด ถ้ามีอาการเด้งหลาย ๆ ครั้ง แสดงว่าโช้คอัพนั้นชำรุด ในขณะที่ขับรถผ่านทางที่ขรุขระหรือทางที่เป็นทางลูกระนาด รถจะมีอาการโยนตัว สาเหตุมาจากสปริง หรือแหนบจะยืดและหดตัวอย่างเต็มที่ จนยางกันกระแทก จะกระแทกกับปีกนกตัวบนอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าขณะนี้โช้คอัพไม่มีแรงที่ จะหน่วงการเคลื่อนที่ของสปริงหรือแหนบเพียงพอแล้ว ให้สังเกตุเวลาขับขี่รถจะมีความรู้สึกว่าควบคุมรถได้ยากมาก นั่นหมายความว่า โช้คอัพไม่สามารถควบคุมการดีดตัวของสปริง หรือแหนบได้ ล้อจะเต้นจนหน้าสัมผัสของยางลอย จากพื้นผิวของถนน อาการเช่นนี้จะเป็นอันตรายอย่างมาก ในขณะขับรถเข้าทางโค้งด้วยความเร็วสูง จะทำให้รถเสียการทรงตัวได้ ให้สังเกตุว่าโช้คอัพมีคราบน้ำมันไหลออกมาหรือไม่ ถ้าหากไม่แน่ใจให้ใช้ผ้าเช็ดแล้วลองตรวจสอบดูอีกครั้ง เพราะคราบน้ำมันนี้อาจจะมาจากสารหล่อลื่น แกนของโช้คอัพก็เป็นไปได้ ถ้าเช็ดแล้วมีคราบน้ำมันอีกก็แสดงว่าโช้คอัพชำรุดให้ถอดโช้คอัพออกมาแล้วดึง ทดสอบความหนืด โดยถอดจุดยึดด้านล่างของโช้คอัพออกแล้วออกแรงดึง การตรวจสอบโช้คอัพลักษณะนี้ ควรตั้งตัวโช้คอัพให้ตั้งฉากกับพื้น แล้วคอยสังเกตุความหนืดของโช้คอัพ

วิธีง่าย ๆ ในการสังเกตุอาการชำรุดของโช้คอัพ
           หากรถเริ่มมีอาการโคลง หรือ กระดอนผิดปกติ ขณะขับขี่สูญเสียการควบคุมขณะเข้าโค้ง หรือ เบรกดอกยางรถมีลักษณะเป็นบั้ง ไม่เรียบเสมอกัน มีคราบน้ำมันซึมออกข้างกระบอกโช้คอัพ แสดงว่าโช้คอัพชำรุดหรือมีปัญหา

                                                     6 ขั้นตอนเช็คโช้คอัพ
                                                  ให้พร้อม 100% ก่อนติดตั้ง
              การติดตั้ง“โช้คอัพใหม่” ไม่ได้หมายถึงประสิทธิภาพการทำงานของโช้คอัพจะเต็ม 100 % เสมอไป  หากผู้ติดตั้งไม่ได้ทำการเช็คโช้คอัพให้พร้อมก่อนการติดตั้ง มักจะเกิดปัญหาตามมา รวมถึงอายุการใช้งานของโช้คอัพก็จะสั้นกว่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย   สาเหตุอาจเกิดจากโช้คอัพดังกล่าวเป็นโช้คอัพประเภทโช้คแก๊ส 2 กระบอก (Twin Tube) ซึ่งหากเป็นโช้คที่สมบูรณ์จากโรงงาน “แก๊ส”จะต้องอยู่ในโช้คอัพกระบอกที่ 2 (Reserve Tube) แต่ความผิดปกติเกิดจากการที่แก๊สหลุดเข้าไปอยู่ในกระบอกแรก ทำให้โช้คอัพเสียแรงเสียดทาน     ดังนั้นเมื่อลูกสูบโช้คสัมผัสแก๊สส่งผลให้การเคลื่อนที่ของแกนโช้คผิดปกติ

  บริษัท ที อาร์ ดับบลิว เอเชียติ๊ก จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย..โช้คอัพ Mon row...แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ขอแนะนำวิธีการ“เช็คความสมบูรณ์ของโช้คอัพ” ก่อนการติดตั้ง  เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานของโช้คอัพเต็ม 100 %   ด้วยวิธีง่ายๆ และใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที  ซึ่งช่างผู้ติดตั้งสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ช่วย   การเช็คความสมบูรณ์ของโช้คอัพก่อนการติดตั้ง ดังภาพประกอบที่1 จะเริ่มจาก

• วางโช้คอัพในลักษณะตั้งขึ้น เหมือนการติดตั้งในรถ 

• กดโช้คอัพลงให้สุด และปล่อยให้แกนโช้คเคลื่อนตัวขึ้น

• หากมีช่วงในการกดและคืนตัวที่ไม่สม่ำเสมอ เช่น มีอาการวืดในบางช่วง ให้สันนิษฐานว่ามีอากาศอยู่ภายในกระบอกโช้ค

เมื่อพบความผิดปกติของโช้คอัพก่อนการติดตั้ง  ก็สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วย  3 ขั้นตอนดังนี้

• คว่ำโช้คลง และกดให้แกนโช้คเข้าไปในกระบอกโช้คจนสุด ดังภาพประกอบที่ 2
• หงายโช้คขึ้นในลักษณะเหมือนการติดตั้งปกติ  ดังภาพประกอบที่ 3

•ปล่อยแกนโช้คให้ขึ้นมาด้วยแรงดันภายในกระบอกโช้คตามปกติ ดังภาพประกอบที่ 4

ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1 – 3 ประมาณ 3 ครั้ง หรือสามารถสังเกตการเคลื่อนตัวของแกนโช้คให้เคลื่อนตัวขึ้นอย่างราบเรียบ  เท่านี้ก็สามารถนำโช้คอัพไปติดตั้งได้แล้ว   สำหรับคุณ ๆ ที่ไม่ได้เป็นช่างก็สามารถจดจำวิธีการนี้  ไปแนะนำกับช่างที่จะติดตั้งโช้คอัพใหม่ให้คุณ   เพื่อทดสอบความละเอียดรอบคอบของช่าง  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง  


      







                                                                                            คันส่ง
                                                                 

ระบบบังคับเลี้ยวแบบเฟืองขับและเฟืองสะพาน ซึ่งเป็นที่นิยมในรถยนต์ปัจจุบัน โดยระบบนี้จะประกอบไปด้วย พวงมาลัย ,แกนพวงมาลัย ,กระปุกเกียร์พวงมาลัย ,เฟืองขับ ,เฟืองสะพาน ,คันส่ง โดยระบบบังคับเลี้ยวทั้ง 2 แบบข้างต้นมีทั้งแบบพวงมาลัียธรรมดาที่ไม่มีอุปกรณ์ช่วยในการผ่อนแรงและแบบพวงมาลัยพาวเวอร์ที่มีอุปกรณ์ช่วยในการผ่อนแรง  ซึ่งใช้แรงดันไฮดรอลิกจากน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ในการช่วยผ่อนแรงหมุนพวงมาลัย โดยใช้พลังงานจากเครื่องยนต์เพื่อขับปั๊มน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ การดูแลรักษาเบื้องต้นก็จะทำการตรวจสอบน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ – พวงมาลัยพาวเวอร์ไฟฟ้า ซึ่งใช้พลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้าในการช่วยผ่อนแรงหมุนพวงมาลัย การดูแลรักษาก็ไม่ต้องตรวจสอบน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ และพวงมาลัยพาวเวอร์ไฟฟ้าจะทำให้รถสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยกว่าเพราะเครื่องยนต์ไม่ต้องเสียกำลังส่วนหนึ่งมาขับปั๊มพวงมาลัยพาวเวอร์



                                                                                                  พวงมาลัย

หลักการทำงานของพวงมาลัยพาวเวอร์ระบบไฮโดรลิค
   พวงมาลัยพาวเวอร์แบบไฮโดรลิคคือระบบการทำงานของการลดน้ำหนักในการเลี้ยวพวงมาลัยในสมัยแรกๆ โดยจะมี ปั้มพวงมาลัยพาวเวอร์
         กำลังช่วยในระบบบังคับเลี้ยวมีชุด เพิ่มกำลังงานอยู่ตรงส่วนกลางของกลไกบังคับเลี้ยวเพื่อลดกำลังงานในการ บังคับเลี้ยว (ผู้ขับขี่ต้องการกำลังอันนี้ เพื่อไปใช้หมุนพวงมาลัย)    แรง หมุนพวงมาลัยนี้โดยปกติคือ 2-4 กก. (4.4-8.8 ปอนด์) ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์นี้ออกแบบมาเพื่อช่วยลดแรงหมุนพวงมาลัย เมื่อรถยนต์วิ่งด้วยความเร็วต่ำ และปรับแต่งให้มีระดับที่เหมาะสมเมื่อรถวิ่งที่ความเร็วปานกลางถึงความเร็ว สูง


2.แบบของระบบพวงมาลัยพาวเวอร์
            2.1) แบบรวมชุด
                   ระบบกำลังช่วยในระบบบังคับเลี้ยว แบบนี้มีชุดลิ้นควบคุมและลูกสูบกำลังประกอบอยู่ภายในเสื้อเกียร์พวงมาลัย (ความหมายของชื่อคือ "แบบรวม")เฟืองของมันคือ แบบลูกปืนหมุนวน
                  ที่ เห็นอยู่นี้คือ กลไกของระบบพวงมาลัยพาวเวอร์แบบรวมชุดมันประกอบด้วยชิ้นส่วนหลักคือ ถ้วยน้ำมัน (เติมด้วยน้ำมันไฮโดรลิค) ปั้มใบพัดซึ่งสร้างแรงดันไฮโดรลิค เสื้อเกียร์เป็นที่อยู่ของลิ้นควบคุม ลูกสูบกำลัง และท่อทางกระปุกเกียร์ ซึ่งให้น้ำมันผ่าน และท่อยาง

            2.2) แบบเฟืองขับ-เฟืองสะพาน
                   ในระบบพวงมาลัยพาวเวอร์แบบนี้ ลิ้นควบคุมจะอยู่ในเสื้อเกียร์และลูกสูบกำลังจะอยู่ภายในเสื้อสูบกำลังแยก ออกจากกันอย่างไรก็ตามแบบเฟืองขับ-เฟืองสะพานก็มีกลไกเหมือนกับแบบชุดรวม

                                          





          พาวเวอร์ ที่รับแรงหมุนจากเครื่องผ่านทางสายพาน มาหมุนปั่นน้ำมันพาวเวอร์ ให้มีแรงดันวนรอบแร็กพวงมาลัยเพื่อช่วยผ่อนแรงเวลาขณะ
เราเลี้ยวพวงมาลัย โดยทั่วไปแล้วจะใช้กับรถใหญ่ๆหน้ายางกว้างๆ ดูได้จากคลิปนี้
- นาทีที่ 1.09 คือพวงมาลัยธรรมดาที่ไม่มีระบบพาวเวอร์
- นาทีที่ 1.28 คือพวงมาลัยพาวเวอร์ระบบไฮโดรลิคที่มีน้ำมันเป็นตัวช่วย
รถยนต์ทุกรุ่นมีพวงมาลัยที่ใช้งานได้ตามปกติและ ปลอดภัย แต่สาเหตุที่ถูกผู้ใช้เปลี่ยนออก มักเกี่ยวข้องกับ ความต้องการด้านความสวยกันมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ของเดิมลงตัว สำหรับการใช้งานอยู่แล้ว
รถยนต์ราคาไม่แพงในบางรุ่นเรื่องคุณสมบัติในการ ใช้งานอาจเป็นข้อด้อยที่ถูกเปลี่ยนออก เพราะเนื้อวัสดุของวงนอก เป็นพลาสติกแข็ง ไม่ใช่โฟมอัดหรือหุ้มหนัง เมื่อจับแล้วจะมีความกระด้าง แต่พวงมาลัยแบบเนื้อแข็งในปัจจุบันมีน้อยมาก

3 ทางเลือกหลักใน 3 ทางเลือกหลัก (แต่ยังมีให้เลือกสารพัดรุ่นหลากแบบ) คือพวงมาลัยหุ้มวัสดุสังเคราะห์
หุ้มหนังแท้ลายไม้

          แบบหุ้มวัสดุสังเคราะห์ มีให้เลือกหลายหลากทั้งแบบโฟมอัดขึ้นรูปเป็นชิ้นเดียว และหุ้มไวนิลหนังเทียม ราคาไม่แพง ใช้งานได้กระชับมือดีพอสมควร

           แบบหุ้มหนังแท้ สวย กระชับมือ ราคาแพงกว่าแบบแรก และเริ่มมีราคาถูกลง ใช้งานได้กระชับมือดีพอสมควร
           แบบลายไม้ สวย คลาสสิกแต่ไม่ค่อยน่าใช้ เพราะเนื้อแข็ง ลื่น ขาดความกระชับมือ และเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ลายไม้อาจทิ่มแทงร่างกายผู้ขับได้ถ้าไม่ประทับใจพวงมาลัยลายไม้มากจริง ๆ ควรมองข้ามไป ปล่อยให้นิยมใช้ในกลุ่ม รถยนต์คลาสสิกเพื่อการสะสมดีกว่า

เส้นผ่าศูนย์กลางเส้นผ่าศูนย์กลางของพวงมาลัย 
หมายถึง การวัดขนาดผ่านเส้นผ่าศูนย์กลาง ของขอบก้านหนึ่ง ไปยังอีกด้านหนึ่งผู้ ผลิตรถยนต์ล้วนมีการทดสอบหาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของพวงมาลัยที่เหมาะสม อย่างละเอียดมาแล้วว่า ผู้ขับต้องมีความฉับไวในการหมุน และมีน้ำหนักในการออกแรง หมุนพวงมาลัยเหมาะสม รถยนต์ทุกคันมีอัตราทดในการหมุนพวงมาลัย  มุมของล้อที่เลี้ยว แตกต่างกันและคงที่ เช่น สมมุติพวงมาลัยหมุน 90 องศา ล้อจะเลี้ยวไป 10 องศา

        ไม่ว่าจะเปลี่ยนพวงมาลัยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากหรือน้อยลงหากจะทำให้ล้อ เลี้ยวเท่าเดิม องศาในการหมุนพวงมาลัยก็เท่าเดิม เพียงแต่ระยะในการหมุนหรือขยับแขนของผู้ขับ กับพวงมาลัยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า จะสั้นและฉับไวกว่า ส่วนพวงมาลัยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า จะมีระยะในการหมุนหรือขยับแขน ยาวและช้ากว่าพวงมาลัยขนาดมาตรฐาน
        
 หากยังงงว่าเส้นผ่าศูนย์กลาง ของพวงมาลัยเล็ก-ใหญ่ จะเกี่ยวกับระยะและความฉับไว ในการหมุนต่างกันอย่างไร ให้ลองยก 2 มือขึ้นคล้ายกับจับพวงมาลัยจริง ถ้า 2 มือห่างกัน การหมุนพวงมาลัย 90 องศา ย่อมมีระยะมากกว่า 2 มือที่ใกล้กัน หรือนึกถึงพวงมาลัยวงใหญ่ของรถเมล์กับพวงมาลัยวงเล็กของตู้เกมคอมพิวเตอร์ ก็จะเห็นภาพชัดขึ้น ไม่ควรเลือกพวงมาลัยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่ามาตรฐานเดิมเพราะจะขาดความฉับไวลง และเกะกะ อาจติดกับต้นขาได้ น้ำหนักในการหมุนพวงมาลัยในกรณีที่ไม่มีระบบเพาเวอร์ผ่อนแรง ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลาง น้อยลง พวงมาลัยจะมีความหนักในการหมุนมากขึ้น และถ้ามีเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้น พวงมาลัยจะมีความหนักในการหมุนน้อยลงขึ้นพวงมาลัยชุดแต่งทั่วไป มักมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลงเพื่อให้ดูปราดเปรียว แต่ไม่ควรเลือก ขนาดเล็กลงเกิน 1-3 นิ้ว เพราะจะทำให้การหมุนมีน้ำหนักมากขึ้นหรือตอบสนองเร็วเกินไป



ความอ้วนของตัววงนอก
         นอก จากเส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอกแล้ว ยังต้องสนใจความอ้วนของตัววงนอกร่วมกันด้วย วงเล็กหรือใหญ่เกินไป ย่อมทำให้ความกระชับของมือลดลง ควรทดสอบจับด้วยมือตัวเองว่า ความอ้วนของตัววงนอกกระชับมือดีไหม แม้มีเส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอกพอดี แต่มีความอ้วนของตัววงนอกไม่กระชับมือก็ใช้งานได้ไม่ดีนัก


จำนวนก้าน
        พวง มาลัยส่วนใหญ่มีจำนวนก้าน 2-4 ก้าน โดยในแต่ละก้านมีขนาด เล็ก-ใหญ่แตกต่าง กันออกไป จำนวนก้านไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับความแข็งแรง เพราะพวงมาลัยทุกแบบ มีความแข็งแรงเพียงพอ และออกแบบให้สามารถยุบตัวได้เมื่อมีแรงกระแทกสิ่งที่ต้องสนใจคือ ความสะดวกในการจับและการหมุนพวงมาลัย พวงมาลัยส่วนใหญ่เป็นแบบ 4 ก้าน แต่สำหรับรถสปอร์ต หรือพวงมาลัยชุดแต่งมักเป็นแบบ 3 ก้าน เพราะดูปราดเปรียวและสวยกว่าไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยแบบกี่ก้าน ให้ทดสอบว่าในการขับปกติที่ควรจับพวงมาลัยในตำแหน่งมือซ้าย 9 หรือ 10 นาฬิกา กับมือขวาในตำแหน่ง 3 หรือ 2 นาฬิกาแล้วจะถนัดมือไหม ถ้าถนัดถึงควรเลือกมาใช้

ระยะห่างระหว่างก้านไฟเลี้ยว-ก้านไฟหน้า
      นอก จากต้องเลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความอ้วนของตัววงนอก และจำนวนก้าน ของพวงมาลัยให้เหมาะสมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงระยะห่างระหว่างก้านไฟเลี้ยว -ก้านไฟหน้า ที่ต้องใช้นิ้วมือปัดไปมา
ถ้าใส่พวงมาลัยใหม่เข้าไปแล้วชิด ทั้ง 2 ก้านมากเกินไป มืออาจไปสะกิดก้าน หรือเกะกะ ต่อการหมุนได้ หากห่างก้านมากเกินไปก็จะใช้มือปัดได้ไม่สะดวก จนอาจขาด ความคล่องตัว ในการขับได้

พวงมาลัยชุดแต่ง
      แกนพวง มาลัยที่ยื่นขึ้นมาสำหรับสวมกับชุดพวงมาลัยของรถยนต์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ มีทั้งขนาดและจำนวนเฟืองต่างกันออกไป พวงมาลัยแบบมาตรฐานผู้ผลิตรถยนต์ มักเป็นแบบวงพวงมาลัยพร้อมคอและเฟืองกลางรวมกันเป็นชิ้นเดียวในตัว มีเพียงฝาครอบที่แยกออกมา
สำหรับพวงมาลัยชุดแต่งล้วนมีการแยกตัวพวงมาลัย กับชุดคอสำหรับสวมลงบน แกนพวงมาลัยแยกออกจากกัน แล้วยึดกันด้วยน็อตขนาดเล็กโดยรอบ 6-8 ตัว เพื่อให้ตัวพวงมาลัยที่ผลิตออกมาสามารถใช้กับรถยนต์ได้สารพัดรุ่น โดยมีคอพวงมาลัยทรงกระบอกแบบแยก มาแทรกระหว่างพวงมาลัยแบบแกน แล้วสามารถเลือกใส่พวงมาลัยชุดแต่งที่มีขนาดเฟืองเท่ากับแกนพวงมาลัยให้ได้ ก่อน

                                    
พวงมาลัยรถยนต์รุ่นสูงกว่า
        นอก จากพวงมาลัยชุดแต่งที่มีให้เลือกหลากหลายแล้ว ยังมีอีกทางเลือก คือ พวงมาลัยของเก่าจากเชียงกง-ตลาดอะไหล่เก่า จากรถยนต์ยี่ห้อเดียวกัน แต่เป็นรุ่นสูงกว่าหรือรุ่นสปอร์ตในต่างประเทศเช่น นิสสัน ซันนี อาจใส่พวงมาลัย ของนิสสัน พัลซา เทอร์โบได้
โดยยุ่งยากนิดหน่อยในการ เทียบซื้อ เฟืองกลางที่จะสวมกับแกนพวงมาลัย ต้องเท่ากันเป๊ะ พลิกดูหน้าสัมผัสชุดแตร และก้าน
ส่วนหลักการทำงานของพวงมาลัยเพาเวอร์ผ่อนแรงแบบไฟฟ้า  EPS ( Electric  Power  Steering )
     พวงมาลัยแบบไฟฟ้า  EPS นั้นจะไม่มี น้ำมันพาวเวอร์ สายพาน ปั้มพาวเวอร์ที่คอยดึงกำลังจากเครื่อง แต่จะเป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมด โดยจะเซ็นเซอร์ที่คอยตรวจจับการเลี้ยวซ้ายขวาแล้วผ่านกล่อง  ECU   ของพวงมาลัย  (คนละตัวกับกล่อง ECU ของเครื่องยนต์)  เพื่อบังคับมอเตอร์ให้คอยเลี้ยวตามพวงมาลัย

ข้อดีของพวงมาลัยระบบ EPS
              พวงมาลัยจะทำให้เบาแรงในการขับขี่ด้วยความเร็วต่ำ แล้วพวงมาลัยจะหนักขึ้นเมื่อเราขับขี่ด้วยความเร็วสูง แล้วยังลดแรงย้อนกลับจากล้อ เช่นเวลาเราขับรถตกหลุม เพราะเราบังคับพวงมาลัยผ่านมอเตอร์
พวงมาลัยไฟฟ้าจะทำให้ประหยัดน้ำมันได้มากกว่าครับ เพราะว่าไม่มีตัวปั้มพาวเวอร์ฉุดแรงจากเครื่อง ส่งผลให้ปริมาณไอเสียลดลง เป็นทางช่วยลดโลกร้อนได้อีกทาง ถึงแม้ว่าจะไม่มากแต่ถ้าหลาย ๆ คันก็น่าจะเยอะทีเดียว แล้วยังไม่ต้องบำรุงรักษาตามระยะทางอีกด้วย เช่นสายพาน น้ำมันพาวเวอร์ เพราะว่ามันไม่มี

ข้อเสียของพวงมาลัยระบบ EPS
               ของทุกสิ่งหากไม่มีข้อเสียคงเป็นไปไม่ได้ใช่มั้ย แต่รู้สึกว่าข้อเสียของระบบ EPS นี้จะไม่มีจริงๆ ถ้ามันไม่เสีย คือว่าถ้ามันเสียจะซ่อมแพงกว่าระบบไฮโดรลิคแน่นอน ส่วนเรื่องอายุการใช้งานนั้นบอกไม่ได้หรอกว่าอะไรจะสั้นกว่ายาวกว่า คงต้องวัดดวงดูฤกษ์ตอนออกรถเอาแล้ว
แร็ค แอนด์ พิเนียน คืออะไร 
จริง ๆ แล้วแร็คแอนพิเนียนก็คือระบบเคลื่อนด้วยเฟืองนั่นเอง แปลงจากแรงหมุนวนซ้ายขวาเป็นแรงดัน-ดึง เป็นระบบรุ่นแรกของการ

                      
                                                     http://www.ilovebrio.com/index.php?topic=77.0




                     


                                                                               









ระบบส่งกำลังรถยนต์

ระบบส่งกำลังรถยนต์


        หน้าที่ของระบบส่งกำลัง (Power train System) คือ การถ่ายทอดการหมุนของเครื่องยนต์ ไปยังล้อ เพื่อให้เคลื่อนที่ได้ ระหว่างทางการส่งกำลังหมุนไปนี้ ก็จะผ่านส่วนประกอบ หรืออุปกรณ์ หลายส่วนคือ ชุดคลัตช์ (Clutch), ชุดเกียร์ (Transmission), เพลาขับ (Drive shaft), ชุดเฟืองท้าย (Differential), เพลา (Axle), ล้อ (Wheel) สำหรับรถยนต์ ที่ขับเคลื่อนล้อหน้า จะมีเพลาขับต่อออกจาก ชุดเฟืองท้าย ไปหมุนล้อโดยตรง การพัฒนาระบบส่งกำลังของรถยนต์ แต่ละบริษัทผู้ผลิต ก็อาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยหลักแล้ว มีจุดประสงค์เดียวกันคือ ส่งกำลังหมุนจากเครื่องยนต์ไปที่ล้อ

    การทำงานของระบบส่งกำลัง เริ่มต้นที่ตัวเครื่องยนต์หมุน ในส่วนของเพลาข้อเหวี่ยง ก็จะมีแกนต่อออกมายึด กับลอช่วยแรง (Fly Wheel) เมื่อเครื่องยนต์หมุน ล้อช่วยแรงก็หมุนไปด้วย ชุดคลัตช์ (Clutch) ที่ติดตั้งอยู่ในระบบ จะมาช่วยรับแรงหมุนนี้ ส่งผ่านไปตามเพลาคลัตช์ (Clutch shaft) เข้าไปสู่ห้องเกียร์ (Transmission) ภายในห้องเกียร์ ก็จะมีฟันเฟืองโลหะ หลายขนาดแตกต่างกันไปตามความเร็วที่ต้องการใช้



ประเภทของการขับเคลื่อนรถยนต์

            ระบบส่งกำลังจะส่งผ่านกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังล้อซึ่งแบ่งประเภทออกได้กว้างๆ ทั่วไปดังนี้

1.รถยนต์เครื่องอยู่หน้าขับหน้า
     รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า และวางเครื่องยนต์ด้านหน้ารถ (FF = Front Engine Front Wheel Drive) จะมีเพลาซ้าย - ขวา ต่อออกจากชุดเฟืองท้าย ไปหมุน ล้อ (แบบนี้ไม่ต้องมีเพลากลาง)


2.รถยนต์เครื่องอยู่หลังขับหลัง
       รถยนต์เครื่องอยู่หลังขับหลัง (RR = Rear Engine Rear Wheel Drive) สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง และวางเครื่องยนต์ช่วงหลังรถ ก็ไม่จำเป็นต้องมีเพลากลาง นิยมใช้กันน้อยมาก


3.รถยนต์เครื่องอยู่หน้าขับหลัง
      รถยนต์เครื่องอยู่หน้าขับหลัง (FR = Front Engine Rear Wheel Drive) รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง และวางเครื่องยนต์ด้านหน้ารถจะมีเพลากลาง ต่อออกจากห้องเกียร์ ไปสู่ชุดเฟืองท้ายที่ติดตั้ง ไว้ด้านหลังรถ แล้วต่อเพลาขับ ซ้าย-ขวา ออกจากชุดเฟืองท้าย

4.รถยนต์เครื่องอยู่กลางขับหลัง
        รถเครื่องกลางขับหลัง (MR = Midship Engine Rear Wheel Drive) จุดเด่น คือการจัดให้น้ำหนักส่วนใหญ่อยู่ระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง เพื่อให้จุดศูนย์ถ่วงอยู่ตรงกลางรถ ข้อเสีย คือมีเนื้อที่ใช้ประโยชน์น้อยและเสียงรบกวนจากเครื่องยนต์มีมาก


5.รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ
       รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ (4 WD = Four Wheel Drive) มีแรงฉุดในการขับเคลื่อนจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ลื่นไถลโดยเฉพาะการใช้งานบนถนนที่ไม่เรียบ ขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ ทางปีนป่าย หล่มโคลนทางโค้งและถนนลื่น จะได้ประโยชน์จากการขับเคลื่อน 4 ล้อดีที่สุด