จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบห้ามล้อ ระบบปรัอากาศ และระบบควบคุมมลพิษ

                                                                ระบบเบรก
     
       ระบบเบรกออกแบบมาเพื่อลดความเร็ว(ทำให้ช้า)และหยุดรถยนต์หรือทำให้จอดนิ่งบนทางลาดได้มันนับได้ว่าเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นที่สุดของรถยนต์ที่จะทำให้เกิดความแน่ใจในการขับขี่อย่างปลอดภัย ซึ่งรถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ไม่สามารถหยุดได้อย่างทันที เมื่อเครื่องยนต์ตัดกำลังงานออกจากระบบส่งกำลัง เนื่องจากมีแรงเฉื่อย แรงเฉื่อยอันนี้ต้องทำให้ลดลง เพื่อที่จะนำมาซึ่งให้รถหยุด เครื่องยนต์เปลี่ยนพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานการเคลื่อนไหว (เคลื่อนที่ )เพื่อไปขับเคลื่อนรถยนต์ ในทางตรงกันข้าม เบรกจะเปลี่ยนพลังงานการเคลื่อนที่นี้กลับไปเป็นพลังงานความร้อนเพื่อหยุดรถยนต์

แบบต่างๆของเบรก
       
    เบรกซึ่งใช้กับรถยนต์สามารถแบ่งแยกออกได้ตามจุดประสงค์ดังนี้
         - เบรกเพื่อใช้ควบคุมความเร็วรถยนต์และหยุดรถยนต์
         - เบรกมือใช้เมื่อต้องการจอดรถ
         - ตัวช่วยเบรกใช้รวมกับการเบรกโดยทั่วไป
   
    เบรกเพื่อใช้ควบคุมความเร็วและหยุดรถยนต์โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
         - ดรัมเบรก
         - ดิสก์เบรก

ดรัมเบรก     
  ส่วนประกอบ                                                                             
      เบรกดรัมประกอบด้วยชิ้นส่วนหลักดังต่อไปนี้
         - แผ่นหลังเบรก
         - กระบอกเบรกที่ล้อ
         - ส่วนประกอบฝักเบรกและผ้าเบรก
         - จานดรัมเบรก

ดิสก์เบรก   ดิสก์เบรกจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนพื้นฐาน คือ
      - จานเหล็กหล่อ (จานโรเตอร์)
      - ผ้าดิสก์เบรก
      - ก้ามปู
      - ลูกสูบ

ข้อดีและข้อเสียของดิสก์เบรกและดรัมเบรก
ข้อดีของดิสก์เบรก 
1.ใช่ชิ้นส่วนน้อยกว่าดรัมเบรค
2.ตอบสนองได้เร็วกว่าดรัมเบรค
3.การระบายความร้อนดีกว่าดรัม
4.รีดน้ำจากผ้าเบรคได้เร็วกว่า
5.ไม่ต้องตั้งระยะห่างของผ้าเบรคเพราะลูกยางเบรคจะตั้งระยะห่างให้อัติโนมัติ
ข้อเสียของดิสก์เบรก1.อะไหล่แพงก่า
2.ผ้าเบรคหมดเร็วกว่า
3.ประสิทธ์ภาพดิสก์เบรคน้อยกว่าดรัมเล็กน้อย

ข้อดีของดรัมเบรค1.ประสิทธิภาพในการเบรคดีกว่าดิสก์เบรก
2.อะไหล่ราคาถูกกว่า
3.เปลืองผ้าเบรคน้อยกว่า
4.อายุใช้งานยาวนานกว่า

ข้อเสียของดรัมเบรค1.ต้องตั้งระยะหางผ้าเบรค
2.ระบายความร้อนได้ยากกว่า
3.รีดนำได้ยากกว่า
4.การตอบสนองช้ากว่า

                                                    ระบบปรับอากาศในรถยนต์


ระบบปรับอากาศในรถยนต์ คือ ระบบปรับอากาศ คือ อุปกรณ์สำหรับรักษาอุณหภูมิและความชื้นของอากาศภายในห้องให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้น ความร้อนจะถูกดึงออกมาเพื่อให้อุณหภูมิ ลดลง และในทางกลับกัน เมื่ออุณหภูมิภายในห้องลดลง ความร้อนก็จะถูกจ่ายออกมาเพื่อ ให้อุณหภูมิสูงขึ้น ดังนั้น ความชื้นที่อยู่ในอากาศจะถูกเพิ่มหรือลดลงเพื่อควบคุมระดับความชื้นของ อากาศให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ดังนั้น เครื่องปรับอากาศจึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นประกอบไปด้วยเครื่องทำความเย็น เครื่องทำ ความร้อนตัวควบคุมความชื้นและเครื่องถ่ายเทอากาศ เครื่องปรับอากาศสำหรับรถยนต์โดยทั่วๆ ไป ประกอบด้วย เครื่องทำความร้อน หรือเครื่องทำความเย็นซึ่งมีตัวดูดความชื้นและเครื่องถ่ายเทอากาศ

ระบบปรับอากาศในรถยนต์จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้

1. คอมเพรสเซอร์ ( COMPRESSOR)
2. คอยล์ร้อน ( CONDENSER)
3. ถังพักน้ำยา-กรองและดูดความชื้น ( FILTER-DRYER RECEIVER)
4. วาล์วลดความดัน ( EXPANSION VALVE)
5. คอยล์เย็น ( EVAPORATOR)
6. น้ำยาแอร์ ( REFRIGERANT)
                                                    
 
                                                                ระบบควบคุมมลพิษ
    
       ระบบควบคุมมลพิษของรถยนต์ คือ ระบบท่อไอเสียซึ่งระบบท่อไอเสียของรถยนต์ จะช่วยไม่ให้ไอเสียเหล่านี้ย้อนกลับเข้าไปสู่เครื่องยนต์หรือบริเวณที่นั่งผู้โดยสาร นี่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เกิดพลังสูงสุดแก่เครื่องยนต์ โดยไม่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ให้ความมั่นใจว่าแก๊สพิษต่างๆจะไม่รั่วไหลไปสู่บริเวณห้องผู้โดยสาร  หน้าที่หลักอีกประการหนึ่งของระบบท่อไอเสียคือลดความอันตรายของแก๊สพิษที่ถูกปล่อยออกมาด้วยอุปกรณ์กรองไอเสีย หรือแคทาลิติกคอนเวอร์เตอร์

ไม่มีความคิดเห็น: